ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

ChemDraw Ultra กับการวาดโครงสร้างเคมีของสาร

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized, กลุ่มเป้าหมาย, ครู, นักเรียน, บทความ, บทความวิชาการ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้, แหล่งเรียนรู้

ในการเรียนวิชาเคมีนั้น บางบทเรียนจะเป็นการอธิบายสมบัติและการเปลี่ยนแปลงของสารในระดับที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โครงสร้างเคมีของสาร ซึ่งสำหรับนักเรียนอาจเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจและมองเห็นภาพตำแหน่งและมุมระหว่างพันธะ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นจึงต้องมีการใช้สื่อต่าง ๆ เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการเรียนการสอน  โดยในบทความนี้จะอธิบายการใช้โปรแกรม ChemDraw Ultra ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโครงสร้างของโมเลกุลโคเวเลนซ์ จุดเด่นของโปรแกรมดังกล่าวคือ ได้ไฟล์เวกเตอร์ทำให้คุณครูสามารถนำไปปรับขยายขนาดให้เหมาะกับสื่อที่นำมาใช้กับนักเรียนได้โดยที่รูปไม่เสียรายละเอียดและความคมชัด โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด 

4 ธาตุใหม่เติมเต็มตารางธาตุในคาบ 7

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized, กลุ่มเป้าหมาย, ครู, นักเรียน, บทความ, บทความวิชาการ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

ตารางธาตุ (periodic table) เป็นตารางแสดงรายชื่อธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ โดยจัดเรียงธาตุตามเลข อะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration) และสมบัติของธาตุที่ซ้ำกันหรือ คล้ายกันตามหมู่ (แถวธาตุในแนวตั้ง) และตามคาบ (แถวธาตุในแนวนอน) Read More.

เคมีกับงานพิสูจน์หลักฐาน

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized, กลุ่มเป้าหมาย, ครู, นักเรียน, บทความ, บทความวิชาการ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้, แหล่งเรียนรู้

หากกล่าวถึงนิติวิทยาศาสตร์ (forensic science) หลายท่านคงนึกถึงภาพของแพทย์หญิงคุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หนึ่งในทีมนิติแพทย์และนักนิติวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนช่วยให้การคลี่คลายคดีของตำรวจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่คงมีเพียงผู้อ่านเพียงไม่กี่คนที่ทราบถึงรายละเอียดเชิงลึกของการทำงานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งการทำงานทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นมีขอบเขตกว้างกว่าแค่การชันสูตรศพ หากยังรวมไปถึงการทำงานในขอบเขตทั่วไป เช่น การตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจลายนิ้วมือ การตรวจทางเอกสาร Read More.

ปันความรู้…สู่ครูลาว

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ กลุ่มเป้าหมาย, บทความ, บุคคลทั่วไป

โลกยุคปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดายและสะดวกมาก ซึ่งความเจริญนี้ส่งผลให้การเรียนรู้ต่าง ๆ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในโรงเรียนหรือในภูมิภาคเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ นอกประเทศด้วย ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับคณะครูจากประเทศลาว ตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์แก่โรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้า แขวงเวียงจันทน์ (หลัก 67) ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ Read More.