ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

    Print Friendly, PDF & Email

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

    Print Friendly, PDF & Email

เคมีโอลิมปิก

ประวัติความเป็นมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ประเทศไทยส่งผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงสนพระทัยและให้การสนับสนุนโครงการมาโดยตลอด โดยทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์สนับสนุน โครงการ ทรงเสด็จพระราชทานเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายคัดเลือก ครั้งที่ 2 และนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันระหว่างประเทศ และทรงพระราชทานพระอนุญาตให้จัดตั้ง มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และชมรมโอลิมปิกวิชาการ นับเป็นพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นด้วยพระบารมีของพระองค์ที่พระราชทานต่อโครงการ เป็นผลให้โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรและสื่อมวลชนทุกประเภท การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เกิดจากกลุ่มนักวิชาการกลุ่มหนึ่งมีความคิดและความเชื่อว่าในทุกประเทศย่อมมีเยาวชนผู้มีอัจฉริยะทางปัญญาอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ หากจัดให้เยาวชนเหล่านั้นมาแข่งขันกันในด้านวิชาการ เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก น่าจะเป็นการพัฒนาความสามารถพิเศษทางปัญญาของเยาวชนให้มีความสามารถสูงยิ่งๆ ขึ้นไป อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว จากแนวคิดดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2502 ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยม โรมาเนียได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกขึ้นเป็นครั้งแรก จากจุดเริ่มต้นนี้เอง ทำให้นานาประเทศเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการจัดการแข่งขันนี้ จึงได้ส่งเยาวชนของตนเข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นทุกปี และได้มีการแข่งขันวิชาการต่างๆ เพิ่มขึ้น คือ ฟิสิกส์เริ่มในปี พ.ศ. 2510 เคมีเริ่มในปี พ.ศ.2512 คอมพิวเตอร์เริ่มในปี พ.ศ. 2532 ชีววิทยาเริ่มในปี พ.ศ. 2533 และดาราศาสตร์ เริ่มในปี พ.ศ. 2540 ตามลำดับ

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการ อันจะส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่สนใจของเยาวชนยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนตลอดจนการวัดผลให้เหมาะสมและมีมาตรฐานสูงขึ้นเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว
2. เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถด้านปัญญาและพัฒนาศักยภาพของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป โดยการเข้าร่วมแข่งขันกับเยาวชนที่มีความสามารถจากนานาชาติ

จุดประสงค์ในการดำเนินการของโครงการนี้ ไม่ได้มุ่งหวังจำนวนเหรียญรางวัลจากการแข่งขันต่างประเทศเป็นเป้าหมายหลัก เหรียญรางวัลเป็นผลพลอยได้จากการแข่งขัน ส่วนจุดประสงค์ที่สำคัญนั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศทางด้านวิชาการ เพื่อให้เยาวชนไทยสนใจศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมาตรฐานสูงขึ้น และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้แสดงตัว และได้พัฒนาศักยภาพของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป  เยาวชนเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะพัฒนาประเทศชาติต่อไป

Print Friendly, PDF & Email