ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

    Print Friendly, PDF & Email

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

    Print Friendly, PDF & Email

4 ธาตุใหม่เติมเต็มตารางธาตุในคาบ 7

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized, กลุ่มเป้าหมาย, ครู, นักเรียน, บทความ, บทความวิชาการ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

ตารางธาตุ (periodic table) เป็นตารางแสดงรายชื่อธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ โดยจัดเรียงธาตุตามเลข อะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration) และสมบัติของธาตุที่ซ้ำกันหรือ คล้ายกันตามหมู่ (แถวธาตุในแนวตั้ง) และตามคาบ (แถวธาตุในแนวนอน) วิธีการจัดเรียงธาตุตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้สามารถ ใช้ประโยชน์ของตารางธาตุเพื่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละธาตุ ใช้ทำนายสมบัติของธาตุที่ยังไม่ถูก ค้นพบ สมบัติของธาตุที่ค้นพบใหม่ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ ทั้งนี้ เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายท่านอาจได้ยินข่าวเกี่ยวกับ การค้นพบธาตุใหม่ จำนวน 4 ธาตุ และเป็นการเติมเต็มธาตุในคาบที่ 7 ของตารางธาตุ

โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด 

Print Friendly, PDF & Email