ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

เมื่อถึงเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี จะมีงานที่สำคัญของแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั่นก็คือ “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์” นั่นเอง

“วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2525 โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งระเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เสนอต่อรัฐบาลให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้ทรงเปน “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นวันที่พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำาเนินไปที่ตำาบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทรงทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ทรงคำานวณทางดาราศาสตร์ว่าจะเกิดขึ้นไวก่อนล่วงหน้า 2 ปี ซึ ่งในวันดังกล่าวได้เกิดปรากฏการณ์จริงตรงตามที่ได้ทรงทำนายไว้

อีกหนึ่งทางสอนเพื่อให้เด็กรักษ์สิ่งแวดล้อม

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, บทความ, สาระน่ารู้

เป็นที่ยอมรับกันดีว่าในหลาย ๆ ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และนับตั้งแต่ที่มีการตีพิมพ์ Twelve Principles of Green Chemistry ในหนังสื่อที่ชื่อว่า Green Chemistry: Theory and Practice ในปีค.ศ. 1998 โดย Paul T. Anastas และ John C. Warner การพัฒนากระบวนการผลิตในวงการอุตสาหกรรมทางเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ก่อเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบกระบวนการทางเคมีบนพื้นฐานของความปลอดภัยและการลดมลพิษจำนวนมากมาย ทั้งในเรื่องของการทดลองแบบย่อส่วน การใช้สารทดแทน การลดขั้นตอนการสังเคราะห์สาร การเลือกใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความจำเพาะมากขึ้น การใช้ non volatile solvents เช่น ionic liquid และ aqueous solvent หรือการเลือกทำปฏิกิริยาเคมีแบบไม่ใช้ตัวทำละลาย เป็นต้น

นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนเคมี

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, บทความ, สาระน่ารู้

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาอย่างมาก การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมและการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการและนำรูปการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)

หลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, บทความ, สาระน่ารู้

การนำหลักสูตรสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

หลักสูตร (curriculum) หมายถึง การประมวลความรู้และประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ หลักสูตรจึงเป็นเสมือนแผนที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมาย และมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่กำหนด