ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

    Print Friendly, PDF & Email

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

    Print Friendly, PDF & Email

เคมีของการแกล้งดิน

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized, กลุ่มเป้าหมาย, ครู, นักเรียน, บทความ, บทความวิชาการ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้, แหล่งเรียนรู้

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าราษฎรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาด้านพื้นที่ในการทำการเกษตร ขาดแคลนที่ทำกิน ซึ่งเนื่องมาจากพื้นที่ดินพรุที่มีการระบายน้ำออก ได้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดจนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร หรือถ้าจะปลูกพืชผลผลผลิตที่ได้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในดินเปรี้ยว หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขสภาพดินเปรี้ยวที่เกิดมาจากป่าพรุ และดินเปรี้ยวอื่นๆ ให้สามารถปลูกพืชได้เพื่อศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอื่นๆได้

โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด 

Print Friendly, PDF & Email