ข่าวและกิจกรรม

บทความ

  • ไขปริศนากับการหาหลักฐานเชิงประจักษ์

    การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยให้นักเรียนทำการทดลองนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้ ซึ่งในที่นี้คือผลการทดลอง มาสร้างองค์ความรู้หรือคำอธิบายด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะ กระบวนการเหล่านี้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญบางประการของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย และหาองค์ความรู้ใหม่ Read More.

หนังสือแนะนำ

  • บทที่ 8 แมกนีเซียม

        โดยสามารถดาวน์โหลดบทความได้โดยคลิกปุ่มดาวน์โหลด (ดาวน์โหลด ครั้ง)

คุณรู้หรือไม่!!! อันตรายจากการใช้พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, นักเรียน, บทความ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

มนุษย์มีการใช้ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์กันอย่างมากในชีวิตประจำวัน เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีความสะดวกในการใช้จึงเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่รีบเร่งในปัจจุบัน ซึ่งในบางครั้งมีการนำผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ต่าง ๆ ไปใช้อย่างผิดวิธี หรือไม่ถูกต้องตามคำแนะนำในการใช้โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ประเภทบรรจุภัณฑ์

มหันตย์หรือขุมทรัพย์จากขยะ

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, นักเรียน, บทความ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

ในช่วงปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมานี้ ได้มีเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ และในเวลาต่อมาก็เกิดเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซ้ำรอยขึ้นอีก ซึ่งส่งผลกระทบไปอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นกระทบทางตรงหรือทางอ้อม อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางน้ำตามมาอีกด้วย

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บุคคลทั่วไป, สาระน่ารู้

เมื่อถึงเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี จะมีงานที่สำคัญของแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั่นก็คือ “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์” นั่นเอง

“วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2525 โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งระเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เสนอต่อรัฐบาลให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้ทรงเปน “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นวันที่พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำาเนินไปที่ตำาบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทรงทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ทรงคำานวณทางดาราศาสตร์ว่าจะเกิดขึ้นไวก่อนล่วงหน้า 2 ปี ซึ ่งในวันดังกล่าวได้เกิดปรากฏการณ์จริงตรงตามที่ได้ทรงทำนายไว้

การเปลี่ยนหน่วย

เขียนโดย chemistry เมื่อ . หัวข้อ ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป, เอกสารประกอบการเรียนการสอน

การบอกปริมาณสารในวิชาเคมีโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวเลขและหน่วยที่ใช้วัด ซึ่งในบางครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนปริมาณที่มีหน่วยหนึ่งไปเป็นปริมาณในหน่วยอื่น ๆ ที่เท่ากันเพื่อสะดวกในการคำนวณ โดยไม่ทำให้ปริมาณเดิมเปลี่ยนแปลง